บทความที่ 1: วิธีการยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์
ฮีตเตอร์ที่ถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสม สามารถมีอายุการใช้งานเป็นปี ๆ
แต่บ่อยครั้งที่เราพบปัญหาอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ที่สั้นผิดปกติ ปัญหาอาจเกิดขึ้นจากทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ แต่บางครั้งเราสามารถยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ได้ เพียงปฏบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ :
1. ใช้งานตามค่ากำหนดของฮีตเตอร์ เช่น การจ่ายไฟให้ฮีตเตอร์ ควรตรงตามค่าแรงดันไฟที่ระบุไว้
2. หากในชุดฮีตเตอร์มีเส้นฮีตเตอร์มากกว่า 1 เส้นขึ้นไป ควรตรวจสอบการต่อขั้วไฟหรือการต่อสะพานไฟ
ของฮีตเตอร์ให้ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสะพานไฟ เช่น เปลี่ยนจากการต่อแบบสตาร์ (Y)
เป็นเดลต้า (Δ) อาจส่งผลให้ชุดฮีตเตอร์ทำงานเกินขีดจำกัดของตัวเองได้
3. ดูแลรักษาขั้วไฟของฮีตเตอร์ให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ
4. ฮีตเตอร์แต่ละชนิดมีความแตกต่างในสภาวะการใช้งาน เช่น ฮีตเตอร์บางชนิดควรใช้ในอากาศ
หรือบางชนิดควรใช้ในของเหลว เพราะฉะนั้นไม่ควรสลับเปลี่ยนสภาวะการใช้งานของฮีตเตอร์
5. ต่อเนื่องจากข้อ 4 หากฮีตเตอร์ทำงานอยู่ในสภาวะใด ควรคงสภาพนั้นให้ต่อเนื่องที่สุด เช่น หากใช้งาน
ในอากาศ ต้องมีลมถ่ายเทออกอยู่ตลอดเวลาหรือใช้งานในของเหลวก็ไม่ควรปล่อยให้ของเหลวแห้ง
ขอด เพราะหลักการทำงานของฮีตเตอร์คือ การนำพาความร้อนจากวัตถุหนึ่งไปสู่อีกวัตถุหนึ่ง
โดยอาศัยตัวกลาง เช่น น้ำ หรืออากาศ
6. หากมีตัวควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เป็นปกติ
มิฉะนั้นหากตัวควบคุมอุณหภูมิเสีย จะทำให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักเกินขีดจำกัด
7. บ่อยครั้งที่ตัวฮีตเตอร์มีคราบสกปรก หรือมีตะกรันเกาะอยู่ ทำให้ความร้อนถ่ายเทออกจากฮีตเตอร์ไม่ดี
เมื่อมีความร้อนสะสมที่จุดนั้น อาจทำให้ตัวฮีตเตอร์เสียหาย เช่น มีรอยร้าว แตกปริ
ส่งผลให้ลวดความร้อนที่อยู่ภายในขาดในที่สุด
8. หากเป็นฮีตเตอร์ที่ตัวฮีตเตอร์ต้องแนบติดกับชิ้นงานหรือใส่ลงไปในช่องชิ้นงานควรเลือกฮีตเตอร์
ให้มีขนาดเหมาะสม และแนบกับชิ้นงานให้ได้มากที่สุด โดยทั่วไปแล้วความร้อนจะถ่ายเทได้ดีที่สุดกับ
ของแข็ง ตามด้วยของเหลวและอากาศ หากมีช่องว่างระหว่างฮีตเตอร์กับชิ้นงานมากเกินไป
จะทำให้ประสิทธิภาพของการถ่ายเทความร้อนลดลง
:::: ดาวน์โหลดบทความนี้ในรูปแบบ PDF ไฟล์ ::::
คอยติดตามบทความดี ๆ ที่จะให้ประโยชน์แก่ท่านซึ่งเราจะนำเสนอในโอกาสต่อ ๆ ไป
หากมีข้อแนะนำหรือติติง เรายินดีรับฟังเสมอ
ติดต่อเรา